เมนู

2. อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ


พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งสูตรอื่นอีกแล้วชี้แจงถึงแบบอย่างแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลาย จึงแสดงพระสูตรมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เย หิ เกจิ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นบทถือเอาโดยไม่มีเหลือ. หิ อักษรเป็นนิบาต
ลงในอรรถเพียงให้เต็มบท (บทสมบูรณ์). บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา
ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารของโลก. บทว่า สมุทยํ เหตุเกิดคือปัจจัย.
บทว่า อตฺถงฺคมํ ความดับคือถึงความไม่มีแห่งอินทรีย์ที่เกิดแล้ว หรือความ
ไม่เกิดแห่งอินทรีย์ที่ยังไม่เกิด. บทว่า อสฺสาทํ คืออานิสงส์. บทว่า อาทีนวํ
คือโทษ. บทว่า นิสฺสรณํ อุบายเครื่องสลัดออก คือ ออกไป. บทว่า
ยถาภูตํ คือตามความเป็นจริง. บทว่า สมเณสุ คือผู้สงบบาป. บทว่า
สมณสมฺมตา ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะ คือ เราไม่ได้รับยกย่องว่าเป็น
สมณะ. เมื่อกล่าวว่า สมฺมตา ด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาล เป็นอันกล่าว
ฉัฏฐีวิภัตติในบทว่า เม นี้ ด้วยอำนาจแห่งลักษณะของศัพท์.
บทว่า พฺราหฺมเณสุ คือผู้ลอยบาป บทว่า สามญฺญตฺถํ สามัญ
ผล คือประโยชน์ของความเป็นสมณะ. บทว่า พฺรหฺมญฺญตฺถํ พรหมัญผล
คือ โยชน์ความเป็นพราหมณ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ก็เป็นอันท่านกล่าวถึง
อรหัตผลนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่ ผล 3 เบื้องต่ำ. บทว่า
พฺรหฺมญฺญตฺถํ ได้แก่ อรหัตผล. เพราะทั้งสามัญผลและพรหมัญผลก็คือ

อริยมรรคนั่นเอง. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม คือ ในอัตภาพที่ประจักษ์อยู่นี่แล.
บทว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง คือ
ทำไห้ประจักษ์ด้วยญาณอันยิ่งด้วยตนเอง. บทว่า อุปสมฺปชฺช เข้าถึง คือ
ถึงแล้ว หรือให้สำเร็จแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระถามถึง
จำนวนประเภทของเหตุเกิดแห่งอินทรีย์เป็นต้นก่อนแล้วแก้จำนวนของประเภท
ต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อสีติสตํ 180 คือ 100 ยิ่งด้วย 80.
โยชนาแก้ว่าด้วยอาการอันบัณฑิตกล่าวว่า 180.
พึงทราบวินิจฉัยในคณนานิเทศ อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการถาม
จำนวนประเภท อีกดังต่อไปนี้. บทว่า อธิโมกฺขตฺถาย เพื่อประโยชน์แก่
การน้อมใจเชื่อ คือ เพื่อน้อมใจเชื่อ เพื่อประโยชน์แก่การเชื่อ. บทว่า
อาวชฺชนาย สมุทโย เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึง คือ ปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์
การคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นว่า เราจักยังศรัทธาให้เกิดเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่ง
สัทธินทรีย์ การคำนึงถึงการแล่นไปแห่งสัทธินทรีย์ เป็นอนันตรปัจจัยแห่ง
ชวนจิตดวงแรก เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งชวนจิตดวงที่ 2 เป็นต้น. บทว่า
อธิโมกฺขวเสน ด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยสามารถความน้อมใจ
เชื่อสัมปยุตด้วยฉันทะ. บทว่า ฉนฺทสฺส สมุทโย เหตุเกิดแห่งฉันทะ คือ
เหตุเกิดแห่งธรรมฉันทะเป็นเยวาปนกธรรม สัมปยุตด้วยอธิโมกข์อันเกิดขึ้น
เพราะการคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นเป็นปัจจัย. อนึ่ง เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่ง
สัทธินทรีย์ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัม-
ปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย และเป็นอธิปติปัจจัยในกาลที่มีฉันทะ
เป็นใหญ่ เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่งอินทรีย์ที่ 2 ด้วยสามารถแห่งอนันตรปัจจัย

สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย.
โดยนัยนี้แลพึงทำการประกอบแม้มนสิการ.
อันที่จริง ในบทว่า มนสิกาโร นี้ก็อย่างเดียวกัน คือ มีมนสิการ
เป็นเช่นเดียวกัน อันมีการแล่นไปเป็นลักษณะ.. มนสิการนั้นไม่เป็นอธิปติ-
ปัจจัยในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย พึงทราบว่าการถือเอาเหตุเกิดทั้งสองเหล่านี้ว่า
เพราะเป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง). บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส วเสน
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ คือ ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์อันถึงความเป็นอินทรีย์
เพราะความเจริญยิ่งแห่งภาวนา. บทว่า เอกตฺตุปฏฺฐานํ ความปรากฏเป็น
ธรรมอย่างเดียว คือ ฐานะอันยิ่งใหญ่ เพราะไม่หวั่นไหวในอารมณ์เดียว
ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์สูงขึ้นไป. พึงทราบแม้อินทรีย์ที่เหลือโดยนัย
ดังกล่าวแล้วในสัทธินทรีย์นั่นแล. อินทรีย์หนึ่ง ๆ มีเหตุเกิดอย่างละ 4 เพราะ
เหตุนั้น อินทรีย์ 5 จึงมีเหตุเกิด 20 ในเหตุเกิดหนึ่ง ๆ ของเหตุเกิด 4
ท่านประกอบเข้ากับอินทรีย์ 5 แล้วกล่าวเหตุเกิด 20.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า พึงเห็น 20 ที่ 1 ด้วยสามารถแห่งมรรคต่างๆ
20 ที่ 2 ด้วยสามารถแห่งมรรค รวมเป็นอาการ 40 ด้วยประการฉะนี้.
แม้อัตถังคมวาร (ความดับ) ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล. อนึ่ง การดับ
นั้น การไม่ได้ของผู้ไม่ขวนขวายการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับการได้. การเสื่อม
จากการได้ของผู้เสื่อมจากการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับ. การระงับของผู้บรรลุ
ผล ชื่อว่า ดับ. บทว่า เอกตฺตํ อนุปฏฺฐานํ ความไม่ปรากฏเป็นธรรม
อย่างเดียว คือ ความไม่ปรากฏในธรรมอย่างเดียว.

อรรถกถาอัสสาทนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอัสสาทนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิยสฺส
อนุปฏฺฐานํ
ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ เว้นบุคคลผู้ไม่มี
ศรัทธา คบบุคคลผู้มีศรัทธา พิจารณาปสาทนียสูตรและทำโยนิโสมนสิการใน
สูตรให้มาก ชื่อว่า ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทว่า
อสฺสทฺธิยปริฬาหสฺส อนุปฏฺฐานํ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะ
ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้ เมื่อพูดถึงศรัทธาเป็นไปแก่คนไม่มีศรัทธา ความ
ทุกข์ โทมนัส ย่อมเกิด นี้ชื่อว่าความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา.
บทว่า อธิโมกฺขจริยาย เวสารชฺชํ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วย
ความน้อมใจเชื่อ คือ ความเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยความเป็นไปแห่งศรัทธาของ
ผู้ถึงความชำนาญด้วยสามารถแห่งวัตถุอันเป็นศรัทธา หรือด้วยภาวนา. บทว่า
สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม คือ การได้
สมถะหรือวิปัสสนา. คำว่า โสมนัส ในบทว่า สุขํ โสมนสฺสํ นี้ เพื่อ
แสดงถึงความสุขทางใจ แม้ความสุขทางกายก็ย่อมได้แก่กายอันสัมผัสด้วยรูป
ประณีต เกิดขึ้นเพราะสัทธินทรีย์ เพราะความสุขโสมนัสเป็นประธานและ
เป็นคุณ ท่านจึงกล่าวให้พิเศษว่า สุขและโสมนัสนี้เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
โดยนัยนี้พึงทราบประกอบแม้คุณแห่งอินทรีย์ที่เหลือ.
จบอรรถกถาอัสสาทนิเทส